ปัจจุบัน การเลือกใช้พลังงานสะอาดจากโซลาร์เซลล์ถือเป็นทางเลือกที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งในที่อยู่อาศัย สำนักงาน และโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากพลังงานสะอาดจะช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้า และยังสามารถใช้ได้ไม่จำกัด ดังนั้น ในบทความนี้ ECOTECH PART จะพาคุณมาทำความรู้จักว่า โซลาร์เซลล์คืออะไร? มีทั้งหมดกี่ชนิด แล้วต้องเลือกอย่างไรถึงจะคุ้มค่าและเหมาะสมที่สุด พร้อมบอกประโยชน์ของโซลาร์เซลล์ที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ ใครที่วางแผนจะติดโซลาร์เซลล์ต้องห้ามพลาด!
โซล่าเซลล์คืออะไร?
โซล่าเซลล์ (Solar Cell) หรือเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดจากธรรมชาติ และมีไม่จำกัด ที่สำคัญคือไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหมือนกับแหล่งพลังงานอื่น ๆ โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าเซลล์ จะเป็นกระแสไฟฟ้าโดยตรงที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที
โซลาร์เซลล์ทำงานอย่างไร?
สำหรับขั้นตอนการทำงานของโซลาร์เซลล์ จะค่อนข้างมีความซับซ้อนและละเอียดอ่อน โดยแต่ละขั้นตอนมีความสำคัญในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้ทั้งในบ้าน อาคาร และโรงงานอุตสาหกรรม
1. การรับพลังงานแสงอาทิตย์
กระบวนการทำงานของโซลาร์เซลล์เริ่มต้นเมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบบนผิวของแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งผลิตจากสารกึ่งตัวนำ โดยมากคือซิลิคอน เมื่อแสงอาทิตย์ที่มีพลังงานโฟตอนตกกระทบบนผิวเซลล์ จะเกิดการถ่ายเทพลังงานไปยังอิเล็กตรอนในสารกึ่งตัวนำ ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกมาและเคลื่อนที่อย่างอิสระ ก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าตรง (DC) ขึ้น
2. การแปลงกระแสไฟฟ้า
เมื่อได้ไฟฟ้ากระแสตรงแล้ว จำเป็นต้องแปลงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้ในบ้านเรือน โดยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นี้คืออินเวอร์เตอร์ (Inverter) ซึ่งจะแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีคุณสมบัติเหมือนไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ทั้งแรงดัน ความถี่ และเฟส เพื่อให้สามารถใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปได้อย่างปลอดภัย
3. การวัดและควบคุมกระแสไฟฟ้า
หลังจากแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแล้ว ไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านระบบควบคุมและมิเตอร์วัดปริมาณการผลิตไฟฟ้า เพื่อตรวจสอบและบันทึกปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ จากนั้นจะผ่านหม้อแปลงไฟฟ้าที่จะปรับแรงดันให้เหมาะสมกับการใช้งาน ระบบควบคุมจะทำหน้าที่จัดการการจ่ายไฟฟ้าไปยังส่วนต่างๆ ของอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ
4. การจ่ายไฟฟ้าเข้าบ้าน
เมื่อไฟฟ้าถูกปรับแรงดันให้เหมาะสมแล้ว ระบบจะจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่วงจรไฟฟ้าภายในบ้านหรืออาคาร ทำให้สามารถใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ตามปกติ โดยระบบจะทำงานอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ตราบใดที่มีแสงอาทิตย์ ผู้ใช้สามารถใช้ไฟฟ้าได้เหมือนการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าทุกประการ
5. ระบบสำรองไฟฟ้า
ในกรณีที่แสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ เช่น ในวันที่มีเมฆมาก หรือช่วงกลางคืน ระบบจะสลับไปใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ การสลับระบบนี้เป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว ผู้ใช้จะไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทำให้มั่นใจได้ว่าจะมีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่ว่าสภาพอากาศจะเป็นอย่างไร
อุปกรณ์โซลาร์เซลล์มีอะไรบ้าง?
สำหรับอุปกรณ์โซลาร์เซลล์ที่จำเป็นในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อให้สามารถใช้งานและผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีอุปกรณ์ทั้งหมด 6 อย่าง ดังนี้
1. แผงโซลาร์เซลล์ ชนิดที่เหมาะสม
แผงโซลาร์เซลล์เป็นอุปกรณ์หลักที่สำคัญที่สุดในระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ปัจจุบันมีให้เลือกหลายรูปแบบ ทั้งแบบโมโนคริสตัลไลน์ โพลิคริสตัลไลน์ และอะมอร์ฟัสโซลาร์เซลล์ การเลือกประเภทและขนาดต้องพิจารณาจากความเหมาะสมในการใช้งานและงบประมาณที่มี โดยทั่วไปแผงโซลาร์เซลล์จะมีอายุการใช้งานประมาณ 20-25 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ
2. ฐานยึดเพื่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์
ฐานยึดแผงโซลาร์เซลล์เป็นโครงสร้างสำคัญในการติดตั้งบนหลังคาบ้านหรืออาคาร ผลิตจากวัสดุคุณภาพสูง ทั้งอลูมิเนียมและเหล็กชุบกันสนิม ทำให้มีความทนทานตลอดอายุการใช้งาน น้ำหนักเบาไม่เป็นภาระต่อโครงสร้างหลังคา และยังช่วยต้านทานแรงลมได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดเวลาในการติดตั้งและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับโครงสร้างอาคาร
3. กล่องควบคุมไฟฟ้า (Combiner Box)
กล่องควบคุมไฟฟ้าหรือ Combiner Box ทำหน้าที่รวมกระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์เข้าสู่ระบบควบคุม ภายในประกอบด้วยฟิวส์และเบรกเกอร์สำหรับตัดไฟเมื่อกระแสไฟฟ้าเกินกำหนด บางรุ่นมีระบบ surge protection เพิ่มเติมเพื่อป้องกันความเสียหายจากฟ้าผ่า ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการรักษาความปลอดภัยของระบบโซลาร์เซลล์
4. อุปกรณ์แปลงกระแสไฟ (Inverter)
อินเวอร์เตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรงจากแผงโซลาร์เซลล์เป็นไฟฟ้ากระแสสลับสำหรับใช้ในบ้าน มีหลายประเภท เช่น Grid Tile Inverter, Micro Grid Inverter, Pure Sine Wave และ Hybrid Inverter การเลือกขนาดควรพิจารณาให้มีกำลังรองรับเกินกว่ากำลังการผลิตของระบบ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน
5. มิเตอร์ไฟฟ้า
มิเตอร์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์วัดปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์เซลล์ โดยแสดงผลเป็นหน่วยกิโลวัตต์-ชั่วโมง สำหรับระบบออนกริดที่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า จำเป็นต้องเปลี่ยนจากมิเตอร์แบบจานหมุนเป็นมิเตอร์ดิจิทัล และต้องได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้องจากการไฟฟ้า
6. Power Meter (กันย้อน)
Power Meter หรือกันย้อนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบการใช้พลังงานและป้องกันไฟฟ้าไหลย้อนกลับ ทำงานร่วมกับอินเวอร์เตอร์เพื่อควบคุมการจ่ายไฟฟ้าในระบบ ช่วยให้ทราบว่ากำลังใช้ไฟฟ้าจากแหล่งใดและมีปริมาณเท่าไร พร้อมทั้งป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าไหลย้อนกลับไปยังมิเตอร์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบได้
โซลาร์เซลล์มีกี่ชนิด?
สำหรับคนที่สงสัยว่าแผงโซลาร์เซลล์มีกี่ชนิด คำตอบคือ ในปัจจุบันมีแผงโซลาร์เซลล์ให้เลือกใช้งานทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ แผงโซลาร์เซลล์โมโนคริสตัลไลน์ โพลีคริสตัลไลน์ และแบบแผ่นฟิล์มบาง ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์ทั้ง 3 ชนิด มีข้อดี-ข้อเสีย และความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันไป ดังนี้
1. โมโนคริสตัลไลน์ (Mono Crystalline Solar Cell)
แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ ผลิตมาจากผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว ที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุม มีสีเข้ม และมีความหนาประมาณ 150-200 ไมครอน ข้อดีของแผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้คือ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สูงที่สุดคือประมาณ 15-20% แต่จะมีราคาค่อนข้างสูง
2. โพลีคริสตัลไลน์ (Poly Crystalline Silicon Solar Cell)
แผงโซลาร์เซลล์ชนิดผลึกรวม เป็นประเภทที่มีการใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน โดยจะมีความหนาประมาณ 150-200 ไมครอน สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 12-15% และมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม และสีของตัวแผงจะไม่เข้มมาก
3. แผ่นฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)
เป็นแผงโซลาร์เซลล์ชนิดฟิล์มที่มีความบางเบา มีราคาถูกที่สุด และมีอายุการใช้งานน้อยกว่าแผงโซลาร์เซลล์ชนิดอื่น ๆ โดยจะเป็นการนำสารที่สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีลักษณะเป็นฟิล์มบาง ๆ มาฉาบซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น และสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยได้เพียง 7-13% เท่านั้น
รู้จักระบบของแผงโซลาร์เซลล์ก่อนเลือกซื้อ
การจะเลือกซื้อโซลาร์เซลล์ให้มีความคุ้มค่า จะต้องทำความรู้จักระบบของโซลาร์เซลล์ให้ดีเสียก่อน เพื่อให้คุณสามารถเลือกโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสมกับการใช้งานและพื้นที่ในการติดตั้ง โดยระบบของโซลาร์เซลล์มีทั้งหมด 3 ระบบ ดังนี้
1. ระบบ Off-Grid
เป็นระบบโซลาร์เซลล์ที่ไม่เชื่อมต่อกับกระแสไฟฟ้า โดยไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทันที และหากใช้ไม่หมดจะนำพลังงานไฟฟ้าที่เหลือไปเก็บสำรองไว้ในแบตเตอรี่ นอกจากนี้การใช้งานโซลาร์เซลล์ระบบ Off-Grid นั้นไม่ต้องมีการขออนุญาตจากการไฟฟ้า ทำให้เหมาะกับการใช้งานในสถานที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เช่น บนดอยสูง บนเกาะ พื้นที่ห่างไกล เป็นต้น
2. ระบบ On Grid
ระบบโซลาร์เซลล์ On Grid เป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และเหมาะสำหรับการใช้งานในที่อยู่อาศัย โดยจะเป็นระบบที่ใช้ทั้งไฟฟ้าทั่วไป และไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์ ซึ่งเมื่อผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาแล้วจะต้องนำไปใช้งานในทันที เพราะไม่สามารถเก็บสำรองไว้ในแบตเตอรี่ได้ ที่สำคัญคือ จะต้องมีการขออนุญาตจากการไฟฟ้าก่อนใช้งาน
3. ระบบ Hybrid
เป็นระบบที่ผสมผสานระบบ Off-Grid และ On Grid ไว้ด้วยกัน ซึ่งระบบนี้จะมีราคาที่ค่อนข้างสูง และไม่สามารถขายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตแล้วไม่ได้ใช้งานให้กับภาครัฐได้ โดยจะมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าจาก 3 แหล่งคือ ทางโซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่ และไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เมื่อมีการใช้งานกระแสไฟฟ้าน้อยกว่าปริมาณที่ผลิตได้ ก็จะถูกนำไปเก็บสำรองไว้ที่แบตเตอรี่จนเต็ม และสามารถนำมาใช้งานในเวลาที่ไม่มีแสงแดดได้
ลักษณะการใช้งานของโซลาร์เซลล์
โซลาร์เซลล์เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง โดยการใช้งานจะแบ่งออกเป็นสองประเภทหลักตามลักษณะการติดตั้งและการใช้งาน
โซลาร์เซลล์สำหรับบ้าน และสำนักงาน
การติดตั้งโซลาร์เซลล์สำหรับบ้านและสำนักงานมักมีขนาดตั้งแต่ 1-12 กิโลวัตต์ โดยติดตั้งบนหลังคาในระบบออนกริดที่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าหลัก สามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ 30-70% ขึ้นอยู่กับขนาดการติดตั้ง นอกจากนี้ยังสามารถเข้าร่วมโครงการขายไฟคืนให้การไฟฟ้าได้หากมีกำลังการผลิตเหลือ ทำให้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว
โซลาร์เซลล์โรงงาน
ระบบโซลาร์เซลล์สำหรับโรงงานมักมีขนาดใหญ่กว่า เหมาะสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้าสูง การติดตั้งบนหลังคาโรงงานช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ถึง 50% และยังแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการลดต้นทุนการผลิตและใส่ใจสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน
โซลาร์เซลล์เหมาะกับใคร?
โซลาร์เซลล์เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดค่าไฟฟ้าและใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยเหมาะกับหลากหลายกลุ่ม ดังนี้
- เจ้าของบ้านที่ต้องการลดค่าไฟฟ้า
- ผู้ประกอบการธุรกิจและโรงงาน
- อาคารสำนักงานและหน่วยงานราชการ
ประโยชน์ของโซลาร์เซลล์
โซลาร์เซลล์ เป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งนอกจากประโยชน์ของโซลาร์เซลล์จะโดดเด่นเรื่องการผลิตกระแสไฟฟ้ามาใช้งานแล้ว ยังมีประโยชน์ของโซลาร์เซลล์อีกมากมายที่หลาย ๆ คนยังไม่รู้ ดังนั้นเราไปดูกันดีกว่าว่า โซลาร์เซลล์ช่วยแก้ปัญหาอะไรบ้าง มีประโยชน์อะไรที่น่าสนใจ
1. พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทนที่ไม่มีวันหมด
พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานจากธรรมชาติที่ไม่มีวันหมดไป ทำให้โซลาร์เซลล์สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ตามระยะเวลาการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้ง
2. เป็นพลังงานสะอาด
การผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ เป็นการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ทำให้พลังงานไฟฟ้าที่ได้เป็นพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3. มีอายุการใช้งานยาวนาน
แผงโซลาร์เซลล์ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 25 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและคุณภาพของแผงโซลาร์เซลล์ ทั้งนี้ หากเลือกใช้แผงโซลาร์เซลล์คุณภาพสูง และมีการดูแลอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะสามารถใช้งานได้ยาวนาน 30-40 ปีเลยทีเดียว
4. ช่วยลดค่าไฟได้สูงสุดถึง 70%
การติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าและเชื่อมต่อกับการไฟฟ้า จะช่วยลดค่าไฟได้มากถึง 30-70% ขึ้นอยู่กับปริมาณการติดตั้ง ซึ่งหากมีการใช้ไฟฟ้าเท่ากับหรือมากกว่าที่ระบบสามารถผลิตได้ จะสามารถประหยัดค่าไฟได้สูงสุดถึงประมาณ 5 แสนบาทต่อ 1,000 kWp เลยทีเดียว
5. ช่วยให้บ้านเย็นขึ้น
นอกจากการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้ามาใช้งานได้แล้ว ยังทำหน้าที่เหมือนหลังคาอีกชั้นที่ช่วยสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ความร้อนที่ผ่านเข้ามาสู่ตัวบ้านลดน้อยลง ทำให้อุณหภูมิในบ้านลดลงได้ประมาณ 3-5 องศา และลดการใช้พลังงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้อีกด้วย
6. คืนทุนในเวลาไม่กี่ปี
แม้ว่าในการติดตั้งโซลาร์เซลล์จะต้องใช้เงินทุนค่อนข้างสูง แต่เมื่อใช้งานไปประมาณ 3-5 ปี ผู้ที่ติดตั้งก็จะได้กำไรคืนจากการประหยัดค่าไฟอย่างน้อย 2 เท่าของเงินลงทุน และเมื่อเทียบกับอายุการใช้งานของโซลาร์เซลล์ที่สามารถใช้งานได้สูงสุดถึง 40 ปีแล้ว ก็นับว่าเป็นการลงทุนที่มีความคุ้มค่าในระยะยาว
โซลาร์เซลล์มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง?
เนื่องจากการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้งานในบ้าน สำนักงาน หรือโรงงาน เป็นสิ่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟ และเป็นพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยังมีอายุการใช้งานยาวนาน ซึ่งนับว่าเป็นการลงทุนที่มีความคุ้มค่าในระยะยาวเป็นอย่างมาก ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ เราไปดูกันดีกว่าว่า ข้อดี-ข้อเสียของโซลาร์เซลล์มีอะไรบ้าง
ข้อดีของโซลาร์เซลล์
- เป็นพลังงานสะอาด เพราะผลิตจากกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
- เป็นพลังงานที่ใช้ได้ไม่มีวันหมด
- เป็นพลังงานฟรีที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อมา แต่จะต้องติดตั้งระบบให้ได้มาตรฐาน
- ช่วยประหยัดค่าไฟได้สูงสุด 30-70% ขึ้นอยู่กับการปริมาณการติดตั้ง
- ได้กำไรคืนจากการติดตั้ง เพราะไฟเหลือก็สามารถขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้าได้
- มีอายุการใช้งานยาวนาน 20-25 ปี และหากเลือกแผงโซลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพสูงอาจมีอายุการใช้งานสูงสุด 30-40 ปีเลยทีเดียว
- ลดการใช้พลังงาน เพราะโซลาร์เซลล์จะทำหน้าที่เหมือนหลังคาอีกชั้น ช่วยลดอุณหภูมิและช่วยลดการใช้พลังงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
ข้อเสียของการติดตั้งโซลาร์เซลล์
- การผลิตไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและแสงแดด ทำให้ปริมาณไฟฟ้าในแต่ละวันจะไม่เท่ากัน
- สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เฉพาะช่วงกลางวันหรือช่วงที่มีแสงแดดเท่านั้น
- การติดตั้ง ต้องทำโดยวิศวกรหรือทีมช่างที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์เท่านั้น
- ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง แต่สามารถคืนทุนได้ภายใน 3-5 ปี
งบประมาณในการติดตั้งโซลาร์เซลล์
การลงทุนติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เป็นทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับทั้งบ้านพักอาศัยและธุรกิจที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในระยะยาว โดยราคาระบบจะแตกต่างกันตามขนาดกำลังการผลิตและความต้องการใช้งาน ซึ่งสามารถเลือกให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าและงบประมาณของแต่ละราย ทั้งนี้ เรามีระบบโซลาร์เซลล์ให้เลือก 3 ขนาดหลักดังนี้
ระบบขนาด 3 KWp – สำหรับบ้านและธุรกิจขนาดเล็ก
ระบบโซลาร์เซลล์ขนาด 3 KWp มีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 169,000 – 189,000 บาท เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยขนาดเล็กถึงกลาง หรือธุรกิจขนาดเล็กอย่างร้านค้าและสำนักงานขนาดย่อมที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่มากนัก ระบบนี้สามารถรองรับการใช้งานเครื่องปรับอากาศขนาด 25,000 BTU ได้ 1-2 เครื่อง พร้อมตู้เย็น 1-2 เครื่อง ทีวี 1-2 เครื่อง รวมถึงหลอดไฟและพัดลมจำนวนหนึ่ง การติดตั้งระบบขนาดนี้สามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้สูงสุดเฉลี่ยเดือนละ 2,000 บาท
ระบบขนาด 5 KWp – สำหรับบ้านขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดกลาง
สำหรับบ้านพักอาศัยขนาดใหญ่หรือธุรกิจที่มีการใช้ไฟฟ้าปานกลาง เช่น ร้านอาหารขนาดกลางหรือโรงแรมขนาดเล็ก ระบบโซลาร์เซลล์ขนาด 5 KWp เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 215,000 – 255,000 บาท ระบบนี้รองรับการใช้งานเครื่องปรับอากาศขนาด 25,000-30,000 BTU ได้ 3-5 เครื่อง ตู้เย็น 2-3 เครื่อง และทีวี 3-4 เครื่อง ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้สูงสุดเฉลี่ยเดือนละ 3,000 บาท
ระบบขนาด 10 KWp – สำหรับธุรกิจและอุตสาหกรรม
ระบบโซลาร์เซลล์ขนาด 10 KWp เป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้าสูง เช่น ร้านสะดวกซื้อ สำนักงานใหญ่ และโรงงานขนาดเล็ก โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 359,000 – 475,000 บาท ระบบขนาดนี้ให้ความคุ้มค่าสูงสุด เนื่องจากสามารถรองรับการใช้งานเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ได้หลายเครื่อง มีตู้แช่หรือตู้เย็นได้มากถึง 8-10 เครื่อง รวมถึงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ อีกจำนวนมาก ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้สูงสุดเฉลี่ยเดือนละ 6,000 บาท
สรุปบทความ
ได้ทำความรู้จักกันไปแล้วว่า โซลาร์เซลล์คืออะไร? ซึ่งโซลาร์เซลล์ก็นับว่าเป็นพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยังสามารถใช้ได้ไม่มีวันหมด ที่สำคัญคือช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้าได้มากถึงครึ่งต่อครึ่ง ทำให้ที่อยู่อาศัย สำนักงาน และโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เริ่มหันมาใช้งานโซลาร์เซลล์กันมากขึ้น และสำหรับคนที่สนใจการติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็สามารถเข้ามาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ ECOTECH PART ได้เลย